การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ได้แบ่งตามขนาดของระบบ แต่จะแบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่ระบบนำมาประมวลผล ถ้าพิจารณาแล้วข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันโดยทั่วไปสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลประเภทไม่ต่อเนื่อง ( discrete data) และข้อมูลประเภทต่อเนื่อง (continuous data) ข้อมูลประเภทไม่ต่อเนื่องคือ ลักษณะของข้อมูลที่สามารถนับได้เป็นจำนวนทีแน่นอน นั่นคือ จะนับทีละ 1 หน่วยได้ เช่น จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จำนวนรถยนต์ในประเทศไทย ข้อมูลประเภทต่อเนื่อง ได้แก่ ข้อมูลที่ได้มาจากการวัด เช่น ความเร็วของรถยนต์ อุณหภูมิของร่างกาย ระบบคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นได้แก่ คอมพิวเตอร์ที่ทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่องซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล ส่วนระบที่ทำงานกับข้อมูลแบบต่อเนื่องเรียกว่า คอมพิวเตอร์แอนะลอก และถ้านำระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลกับแบบแอนะลอกรวมกันเรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ยังสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือ คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ และคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจ คอมพิวเตอร์เฉพาะกิจคือ คอมพิวเตอร์ถูกออกแบบและสร้างให้ทำงานเฉพาะอย่างเท่านั้นโดยไม่สามารถนำไปใช้งานชนิดอื่นได้ ส่วนมากจะเป็นคอมพิวเตอร์ใช้ในการควบคุม เช่นควบคุมระบบการจ่ายและจุดฉีดน้ำมันในรถยนต์ หรือใช้ในระบบนำวิถีของจรวด คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์คือ ระบบที่ได้รับการออกแบบให้ประยุกต์ใช้งานได้อย่างนับไม่ถ้วน คือ ระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา และเมื่อต้องการใช้เครื่องทำงานอะไร ก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งาน ก็สามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ แบ่งตามขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ มักจะวัดกันตามขนาดความจุของหน่วยความจำหลักที่ใช้งาน (Main Memory) ซึ่งหน่วยวัดความจุอาจอยู่ในเทอมของกิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB) โดย 1 KB จะมีค่า = ไบต์ หรือ 1024 ตัวอักขระ (1 ไบต์ มีค่าเท่ากับ 1 ตัวอักขระ) ดังนั้น ถ้าคอมพิวเตอร์มีความจุ 10 K จะมีความหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักได้ ไบต์ หรือเท่ากับ 10,240 ตัวอักขระนอกจากนี้ขนาดหน่วยความจำยังอาจมีหน่วยวัดอยู่ในเทอมของเมกะไบต์ (Megabyte หรือ MB หรือ M ) โดย1 MB = 1024 KB = 1024 X 1024 =1,048,576 ไบต์ (ตัวอักขระ) หรืออาจอยู่ในเทอมของจิกะไบต์ (Gigabyte หรือ GB) โดย 1 = 1024 MB = 1024 X 1024 X 1024 = 1,073,741,824 ไบต์(ตัวอักขระ) เป็นต้น
1. Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคํานวณมาก เช่น งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ งานพยากรณ์อากาศ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้มีราคาแพงมาก
2.เมนเฟรม (Mainframe) คือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมากเมนเฟรมคอมพิวเตอร์บางแห่งมีสถานีงาน (workstation) หรือ เครื่องปลายทาง (terminal) มากกว่า 10 แห่ง และมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเวลาเดียวกันเป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักจะใช้ในกิจการขนาดใหญ่ เช่นระดับกระทรวง เมนเฟรมส่วนใหญ่มีหน่วยความจำประมาณ 8 ล้านตัวอักษรขึ้นไปและมีหน่วยความจำรองประมาณ 1,000 ล้านตัวอักษรขึ้นไป นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูงประมาณไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคำสั่งต่อวินาที (MIPS) ขอบเขตของคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดนั้นกำหนดได้ยากถ้าจะถือความสามารถของเครื่องเป็นขอบเขต ไมโครคอมพิวเตอร์สมัยปัจจุบันนี้ มีความสามารถมากกว่าเมนเฟรมสมัยเมื่อ 20 ปีก่อน ความสามารถสของมินิคอมพิวเตอร์สมัยนี้ อาจด้อยกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ในอนาคตก็ได้ ในปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์เป็นที่นิยมและแพร่หลาย จนกระทั่งคำว่า"ไมโครคอมพิวเตอร์" เปลี่ยนมานิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "คอมพิวเตอร์" ซึ่งหมายถึง "ไมโครคอมพิวเตอร์ นั่นเอง
3.มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะปานกลาง ต่ำกว่าเมนเฟรมแต่ทำงานพร้อมกันได้หลายคน ต่อพ่วงกับเครื่องปลายทางได้น้อยกว่าเมนเฟรม มักใช้กับกิจกรรมขนาดย่อมเช่น กิจกรรมโรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานศึกษา โดยทั่วไปมินิคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำประมาณ 4 ล้านตัวอักษรขึ้นไป มีหน่วยความจำรอง 500 ล้านตัวอักษร และมีความเร็วในการทำงานประมาณไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคำสั่งต่อวินาที
4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นิยมใช้ทั่วไปในปัจจุบัน บางครั้งเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal coputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้โดยง่าย ปกติจะมีผู้ใช้ครั้งละ 1 คนต่อ 1 เครื่อง ปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1 กลุ่มพีซี (personal computer) ใช้งานทั่วไป เช่นพิมพ์เอกสาร จัดฐานข้อมูล ฯลฯ 1.2 กลุ่มแมคอินทอช (macintosh) ใช้เกี่ยวกับงานกราฟิค เป็นส่วนใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น